วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

สกุลเงินของ 10 ประเทศอาเซียน

สกุลเงินของ 10 ประเทศอาเซียน


สกุลเงินอาเซียน ทั้งหมดมีดังนี้
สกุลเงินของบรูไน – ดอลลาร์บรูไน (ฺBrunei Dollar, BND)
เงินดอลลาร์บรูไนมีค่าเท่ากับเงินดอลลาร์สิงคโปร์ โดยทางการประเทศบรูไนมีการออกธนบัตรที่มีมูลค่า 1, 5, 10, 50, 100, 500, 1,000 และ 10,000 ดอลลาร์ มีอัตราแลกเปลี่ยนราว 1.3 BND ต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1 BND ต่อ 25 บาทไทย


ธนบัตรเงินดอลลาร์บรูไน

สกุลเงินของกัมพูชา – เรียล (Cambodian Riel, KHR)
เงินเรียลกัมพูชา มีการผลิตทั้งเหรียญและธนบัตรหลายระดับราคาออกมาใช้งาน คือ 50, 100, 200, 500, 1,000, 2,000, 5,000, 10,000, 20,000, 50,000 และ 100,000 เรียล โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนราว 4,000 เรียลต่อดอลลาร์สหรัฐ การค้าขายตามแนวชายแดนหรือแม้กระทั่งในเมืองใหญ่ๆของกัมพูชา เราสามารถใช้เงินบาทไทยและเงินดอลลาร์สหรัฐในการซื้อสินค้าและบริการได้

ธนบัตรเงินเรียลกัมพูชา

สกุลเงินของมาเลเซีย – ริงกิต (Ringgit, MYR)
เงินริงกิตมาเลเซียมีอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 1 ริงกิตต่อ 10 บาทไทย หรือราว 3.2 MYR ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เงินริงกิตมาเลเซียถูกผลิตออกมาใช้งานหลายระดับราคาคือ 1, 5, 10, 20, 50 และ 100 ริงกิต
ธนบัตรริเงินงกิตมาเลเซีย

สกุลเงินของพม่า – จ๊าต (Myanmar Kyat, MMK)
เงินจ๊าตของพม่ามีอัตราแลกเปลี่ยนราว 32 จ๊าตต่อ 1 บาทไทย หรือราว 1,000 จ๊าตต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยมีการผลิตธนบัตรออกมาใช้งานหลายราคา คือ 1, 5, 20, 50, 100, 200, 500, 1,000, 5,000 และ 10,000 จ๊าต

ธนบัตรเงินจ๊าตของพม่า

สกุลเงินของฟิลิปปินส์ – เปโซ (Philippine Peso, PHP)
เงินเปโซฟิลิปปินส์มีอัตราแลกเปลี่ยนราว 1.35 เปโซต่อหนึ่งบาทไทย หรือราว 44 เปโซต่อดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรเงินเปโซที่ผลิตออกมาใช้งานมีหลายระดับราคาคือ 20, 50, 100, 200, 500 และ 1,000 เปโซ

ธนบัตรเงินเปโซฟิลิปปินส์

สกุลเงินของอินโดนีเซีย – รูเปียห์ (Indonesian Rupiah, IDR)
เงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียมีอัตราแลกเปลี่ยนราว 11,700 IDR ต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือ ราว 370 IDR ต่อบาทไทย ราคาของธนบัตรรูเปียห์ที่ผลิตออกมาใช้งานคือ 1,000, 2,000, 5,000, 10,000, 20,000, 50,000 และ 100,000 รูเปียห์

ธนบัตรรูเปียห์อินโดนีเซีย

สกุลเงินของไทย – บาท (Thai Baht, THB)
เงินบาทของไทยมีสถานะค่อนข้างแข็งแกร่งในบรรดาสกุลเงินอาเซียนด้วยกัน เนื่องจากประเทศไทยมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงมาก อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทยนั้นราว 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรเงินบาทไทยมีผลิตออกมาใช้งานในระดับราคา 20, 50, 100, 500 และ 1,000 บาท

ธนบัตรเงินบาทของไทย

สกุลเงินของสิงคโปร์ – ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar, SGD)
เงินดอลลาร์สิงคโปร์นับได้ว่าเป็นสกุลเงินที่แข็งแร่งที่สุดในบรรดาสกุลเงินอาเซียนทั้งหมด มีอัตราแลกเปลี่ยนราว 1.3 SGD ต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1 SGD ต่อ 25 บาทไทย ธนบัตรดอลลาร์สิงคโปร์ที่ผลิตออกมาใช้งานคือ 2, 5 10, 50, 100, 1,000 และ 10,000 ดอลลาร์
ธนบัตรเงินดอลลาร์สิงคโปร์

สกุลเงินของลาว – กีบ (Laotian Kip, LAK)
เงินกีบของลาวมีอัตรแลกเปลี่ยนราว 250 กีบต่อหนึ่งบาท หรือราว 8,000 กีบต่อดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรเงินกีบที่มีการผลิตออกมาใช้งานคือ 500, 1,000, 2,000, 5,000, 10,000, 20,000 และ 50,000 กีบ

ธนบัตรเงินกีบลาว

สกุลเงินของเวียดนาม – ด่ง (Vietnam Dong, VND)
สกุลเงินด่งของเวียดนามมีอัตราแลกเปลี่ยนราว 21,000 ด่งต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 650 ด่งต่อ 1 บาทไทย ธนบัตรเงินด่งที่ผลิตออกมาใช้งานคือ 1,000 ,2,000, 5,000, 10,000, 20,000, 50,000, 100,000, 200,000 และ 500,000 ด่ง
ธนบัตรเงินด่งเวียดนาม

เหตุผลที่เข้าสมาชิกอาเซียน

เหตุผลที่เข้าสมาชิกอาเซียน


รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับอาเซียนในฐานะมิตรประเทศที่มีความเชื่อมโยงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมกับไทยมาเป็นระยะเวลานาน โดยไทยเปิดเสรีทางการค้ากับอาเซียนมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอื่น และการจัดตั้ง AEC ในปี 2558 จะส่งผลให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวที่แข็งแกร่ง และมีศักยภาพที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในภูมิภาครวมทั้งไทยได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจาก AEC ช่วยสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนต่างชาติว่าอาเซียนจะกลายเป็นภูมิภาคที่ไม่มีอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน นอกจากนี้การเปิด AEC จะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก และส่งเสริมบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศให้โดดเด่นมากขึ้น

สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (open economy) คือเป็นประเทศที่ติดต่อทำการซื้อขายสินค้าและบริการกับประเทศเพื่อนบ้าน การค้าระหว่างประเทศจึงมีบทบาทสำคัญในฐานะกลไกในการพัฒนาและนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศ รวมทั้งมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาลประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 มาเป็นแนวทางในประเทศ การค้าระหว่างประเทศของไทยที่ผ่านประเทศไทยส่วนใหญ่จะขาดดุลการค้า และได้ดุลการค้าการชำระเงินเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าว ยางพารา ไม้สัก ดีบุก ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กุ้งสด ทุเรียน มังคุดและที่ส่งออกมากขึ้นโดยเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ ซีเมนต์ อัญมณี ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ผ้าไหมไทย แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ได้นำเข้าสินค้าเยอะมาก เป็นเหตุให้เราขาดดุลการค้า สามารถจำแนกสินค้านำเข้าได้ดังนี้
  • สินค้าอุปโภคบริโภคประเภทอาหาร ผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่ม เครื่องใช้ในบ้าน มีแนวโน้มลดลงเพราะมีการผลิตทดแทนการนำเข้า และพัฒนาไปสู่การผลิตเพื่อการส่งออก
  • สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและวัตถุดิบ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมภายใน มีแนวโน้มสูงขึ้น
  • สินค้าประเภททุน ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องทุ่นแรงรถแทรกเตอร์ ปุ๋ยเคมี มีแนวโน้มสูงขึ้น
  • สินค้าอื่นๆ ได้แก่ รถยนต์ เชื้อเพลิง อะไหล่รถยนต์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ในรอบระยะ 10 ปีที่ผ่านมาอัตราการนำเข้าสินค้าของไทยสูงมากขึ้น เนื่องจากการเร่งพัฒนาประเทศมีความจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าทุนมากขึ้น การบริโภคของคนในประเทศเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการบริโภคเลียนแบบ ซึ่งมักจะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและมีราคาสูง นอกจากนี้ประเทศไทยส่งเสริมการค้าเสรี ควบคุมการนำเข้าเพียงไม่กี่รายการ จึงมีการนำเข้าสินค้าอย่างมาก จากสาเหตุเหล่านี้ เป็นเหตุให้ประเทศไทยขาดดุลการค้ามาตลอด  
เศรษฐกิจและการค้าของไทยในระยะที่ผ่านมาจะขยายตัวในอัตราที่สูงมาก แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ได้มีการนำมาตรการใหม่ๆ มาเป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้ามากขึ้น เช่น การใช้มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด และ ตอบโต้การอุดหนุนการห้ามนำเข้าโดยอัตโนมัติ โดยใช้เหตุผลทางสุขอนามัย มาตรฐานสินค้าหรือสิ่งแวดล้อม การแข่งขันในตลาดการค้าโลกที่มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ในส่วนของประเทศไทยนอกจากแสวงหาผลประโยชน์จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าของโลกโดยเข้าร่วมในกลุ่มเศรษฐกิจการค้าที่มีผลประโยชน์สอดคล้องกันและผลักดันให้มีการพัฒนาอาเซียนเป็นเขตการค้าเสรีแล้ว จะต้องพัฒนาสินค้าออกของไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้นทั้งในด้านคุณภาพ มาตรฐานสินค้า และประสิทธิภาพในการผลิตเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยในตลาดโลก รวมทั้งจะต้องแสวงหาลู่ทางที่จะขยายการลงทุนของไทยไปในภูมิภาคต่างๆ ให้มากขึ้นทั้งในลักษณะของการลงทุนโดยตรงและการร่วมทุน เพื่อเป็นช่องทางให้สินค้าออกของไทยกระจายไปสู่ตลาดต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองนั้น ย่อมก่อกำเนิดขึ้นได้ตลอดเวลาตามลักษณะแห่งปัจจัยในแต่ละด้าน สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ นับได้ว่ามีความสำคัญ ใหญ่หลวง จะมีผลกระทบเช่นไรต่อการดำรงชีพของประชาชนโดยส่วนรวมในแต่ละช่วงเวลา ตลอดจนจะต้องพิจารณาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยว่ามีแนวโน้มดำเนินไปอย่างไร ประสานสอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ ในขณะนั้นหรือไม่เพียงใด สมควรที่จะได้ปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องด้านใดบ้าง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวมโดยแท้จริง ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มีสาเหตุมาจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งจะรักษาอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูง จึงทำให้มีการพึ่งพาปัจจัยภายนอกประเทศเกินสมควร จากการติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจปัญหาต่างๆเหล่านี้จะคงอยู่ต่อไปและจะทวีความรุนแรงมากขึ้น หากไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างการผลิต การนำเข้า และการส่งออกตลอดจนการแก้ไขนโยบายเศรษฐกิจหลายๆ ด้านอย่างมีระเบียบแบบแผน ปัญหาเหล่านี้ก็จะยิ่งสะสมเพิ่มพูนขึ้นจนยากที่จะแก้ไข

เศรษฐกิจในปัจจุบัน

โครงสร้างเศรษฐกิจ



 ลักษณะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก ตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีที่เน้นเรื่องความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก การเร่งผลิตทำให้ต้องพึ่งพาการส่งออก นำเข้า และการเงินระหว่างประเทศ เกิดการใช้ปัจจัยการผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดปัญหาการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่สมดุลและยั่งยืนตามมา เกิดปัญหาการขาดแคลนเงินทุน แรงงานไร้ทักษะและฝีมือ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ขาดการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิต ฯลฯ รัฐบาลจึงต้องกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบาย และมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยรีบด่วนก่อนที่จะเป็นปัญหาเรื้อรังจนแก้ไขไม่ได้
          ระบบเศรษฐกิจของไทยได้เน้นการเจริญเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลักทำให้ต้องพึ่งพาการส่งออก นำเข้า และการเงินระหว่างประเทศ เพื่อเร่งการลงทุนและการผลิตในประเทศ และใช้ปัจจัยการผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ประสิทธิภาพ โดยไม่มีการผลิตทดแทนทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนตามมา ถึงแม้ไทยจะประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง แต่ก็ประสบปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาความยากจนของประชาชนที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งในผลประโยชน์ของการพัฒนา ในระดับรัฐบาลจึงต้องเข้ามาหาแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสมดุลและยั่งยืนในระยะยาว