ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (open economy)
คือเป็นประเทศที่ติดต่อทำการซื้อขายสินค้าและบริการกับประเทศเพื่อนบ้าน
การค้าระหว่างประเทศจึงมีบทบาทสำคัญในฐานะกลไกในการพัฒนาและนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศ
รวมทั้งมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาลประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่
1 มาเป็นแนวทางในประเทศ
การค้าระหว่างประเทศของไทยที่ผ่านประเทศไทยส่วนใหญ่จะขาดดุลการค้า
และได้ดุลการค้าการชำระเงินเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตรกรรม
ได้แก่ ข้าว ยางพารา ไม้สัก ดีบุก ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กุ้งสด ทุเรียน
มังคุดและที่ส่งออกมากขึ้นโดยเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ ซีเมนต์ อัญมณี
ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ผ้าไหมไทย แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ได้นำเข้าสินค้าเยอะมาก
เป็นเหตุให้เราขาดดุลการค้า สามารถจำแนกสินค้านำเข้าได้ดังนี้
- สินค้าอุปโภคบริโภคประเภทอาหาร ผลิตภัณฑ์นม
เครื่องดื่ม เครื่องใช้ในบ้าน มีแนวโน้มลดลงเพราะมีการผลิตทดแทนการนำเข้า
และพัฒนาไปสู่การผลิตเพื่อการส่งออก
- สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและวัตถุดิบ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมภายใน
มีแนวโน้มสูงขึ้น
- สินค้าประเภททุน ได้แก่ เครื่องจักร
เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องทุ่นแรงรถแทรกเตอร์ ปุ๋ยเคมี มีแนวโน้มสูงขึ้น
- สินค้าอื่นๆ ได้แก่ รถยนต์ เชื้อเพลิง
อะไหล่รถยนต์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ในรอบระยะ 10 ปีที่ผ่านมาอัตราการนำเข้าสินค้าของไทยสูงมากขึ้น
เนื่องจากการเร่งพัฒนาประเทศมีความจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าทุนมากขึ้น
การบริโภคของคนในประเทศเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการบริโภคเลียนแบบ
ซึ่งมักจะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและมีราคาสูง นอกจากนี้ประเทศไทยส่งเสริมการค้าเสรี
ควบคุมการนำเข้าเพียงไม่กี่รายการ จึงมีการนำเข้าสินค้าอย่างมาก จากสาเหตุเหล่านี้
เป็นเหตุให้ประเทศไทยขาดดุลการค้ามาตลอด
เศรษฐกิจและการค้าของไทยในระยะที่ผ่านมาจะขยายตัวในอัตราที่สูงมาก
แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ
ได้มีการนำมาตรการใหม่ๆ มาเป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้ามากขึ้น เช่น
การใช้มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด และ ตอบโต้การอุดหนุนการห้ามนำเข้าโดยอัตโนมัติ
โดยใช้เหตุผลทางสุขอนามัย มาตรฐานสินค้าหรือสิ่งแวดล้อม
การแข่งขันในตลาดการค้าโลกที่มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น
ในส่วนของประเทศไทยนอกจากแสวงหาผลประโยชน์จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าของโลกโดยเข้าร่วมในกลุ่มเศรษฐกิจการค้าที่มีผลประโยชน์สอดคล้องกันและผลักดันให้มีการพัฒนาอาเซียนเป็นเขตการค้าเสรีแล้ว
จะต้องพัฒนาสินค้าออกของไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้นทั้งในด้านคุณภาพ
มาตรฐานสินค้า และประสิทธิภาพในการผลิตเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยในตลาดโลก
รวมทั้งจะต้องแสวงหาลู่ทางที่จะขยายการลงทุนของไทยไปในภูมิภาคต่างๆ
ให้มากขึ้นทั้งในลักษณะของการลงทุนโดยตรงและการร่วมทุน
เพื่อเป็นช่องทางให้สินค้าออกของไทยกระจายไปสู่ตลาดต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองนั้น
ย่อมก่อกำเนิดขึ้นได้ตลอดเวลาตามลักษณะแห่งปัจจัยในแต่ละด้าน
สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ นับได้ว่ามีความสำคัญ ใหญ่หลวง
จะมีผลกระทบเช่นไรต่อการดำรงชีพของประชาชนโดยส่วนรวมในแต่ละช่วงเวลา
ตลอดจนจะต้องพิจารณาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยว่ามีแนวโน้มดำเนินไปอย่างไร
ประสานสอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ ในขณะนั้นหรือไม่เพียงใด
สมควรที่จะได้ปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องด้านใดบ้าง
ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวมโดยแท้จริง
ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มีสาเหตุมาจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งจะรักษาอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูง
จึงทำให้มีการพึ่งพาปัจจัยภายนอกประเทศเกินสมควร
จากการติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจปัญหาต่างๆเหล่านี้จะคงอยู่ต่อไปและจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
หากไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างการผลิต การนำเข้า
และการส่งออกตลอดจนการแก้ไขนโยบายเศรษฐกิจหลายๆ ด้านอย่างมีระเบียบแบบแผน
ปัญหาเหล่านี้ก็จะยิ่งสะสมเพิ่มพูนขึ้นจนยากที่จะแก้ไข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น